หลักการทำงานและส่วนประกอบ


1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผล
ข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
- Keyboard
- Mouse
- Disk Drive
- Hard Drive
- CD-Rom
- Magnetic Tape
- Card Reader
- Scanner

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 

ทํ าหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
- หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับ
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
- หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจํ า (Memory) 
ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
- ROM หน่วยความจําแบบถาวร
- RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
- หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
- Monitor จอภาพ
- Printer เครื่องพิมพ.
- Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ
แหล่งอ้างอิง

การทำงานของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ จะต้องมีอุปกรณ์ครบ ทั้ง 4 ส่วน คือหน่วยรับข้อมูล หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลางและหน่วยแสดงผล ซึ่ง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์แต่ละส่วน จะมีการทำงานที่ประสานกัน อย่างเป็นระบบรับคำสั่งผ่านทางหน่วยรับ ข้อมูล เช่น พิมพ์ข้อความ ที่แผงแป้นอักขระ ทำตามคำสั่ง ที่หน่วยประมวลผลกลาง สั่งให้หน่วยแสดงผล แสดงผล การทำงาน ที่กำหนด เช่นพิมพ์เอกสาร
แหล่งที่อ้างอิง http://ebook.nfe.go.th/ebook/pdf/025/0025_82.pdf

แม้คอมพิวเตอร์ดูเหมือนว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงไรแต่เราสามารถแบ่งการทำงานของเครื่องได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
>>>รับข้อมูล (Input) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่องโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น คีบอร์ด เมาส์ จอยสติ๊ก เป็นต้น
>>>ประมวลผล จะทำการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ โดยหน่วยประมวลผลที่มีชื่อเรียกว่า ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
นั้นเปรียบได้เหมือนป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสมรรถนะของเครื่องจะขึ้นกับความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผล
สำหรับชุดคำสั่งที่ป้อนให้หน่วยประมวลผลนั้นเรียกว่าโปรแกรม ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่บางอย่างเฉพาะเจาะจง
>>>แสดงผล เป็นส่วนที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ จอภาพ (แสดงภาพหรือข้อความ)
ลำโพง(ส่งเสียง) เป็นต้น
นอกจากการทำงานของเครื่อง ขั้นตอน ยังมีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ หน่วยความจำ (Memory) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมี
หน่วยความจำสำหรับพักข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการประมวลผล โดยรูปแบบการเก็บข้อมูลในเครื่องนั้นมีหน่วยเป็นบิต ที่มีค่าได้เพียง ค่าคือ
หรือ เท่านั้น เมื่อเรานำข้อมูลมาเรียงต่อกันหลายบิต ก็จะทำให้เราสามารถแทนค่าได้มากขึ้น โดยข้อมูลที่มีขนาด บิต มีชื่อเรียกว่า ไบต์
เราใช้หน่วยไบต์ในการวัดขนาดของหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรามักได้ยินคำ เช่น กิโลไบต์ ,เมกะไบต์และกิกะไบต์ 

แหล่งที่อ้างอิง www.geocities.com/kunkroo_computer/intro5.html

ตระกูลของซีพียู ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายมีอยู่ 3 ตระกูล คือ ๑. Intel2. AMD 3. Cyrix องค์ประกอบของซีพียู ลักษณะของตัวซีพียู จะหมายถึง รูปร่างหรือแบบของซีพียูที่ถูกผลิตออกมา ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. แบบการ์ดหรือตลับ มีลักษณะเป็นแผงหรือตลับสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านล่างมีหน้าสัมผัสสำหรับเสียบลงบนช่องต่อบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า สล็อต (Slot)


2. แบบชิป PGA มีลักษณะเป็นแผ่นชิปบาง ๆ มักเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหลังจะมีขาเสียบ โดยรอบสำหรับเสียบลงช่องต่อบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า ซ็อกเก็ต (Socket) ลักษณะการเชื่อมต่อของซีพียูกับเมนบอร์ด ลักษณะของซีพียูนี้จะมีผลโดยตรงกับการเลือกเมนบอร์ด โดยทั้งซีพียูและเมนบอร์ดจะต้องมีลักษณะการต่อเชื่อม ที่เหมือนกัน

แหล่งที่อ้างอิง http://www.geocities.com/jukkit/comp.htm



Memory หน่วยความจำ จะแบ่งออกเป็น ประเภทได้แก่ ROM (Read Only Memory) ซึ่งจะเป็นหน่วยความจำถาวร ที่ผู้ผลิตได้บรรจุเก็บโปรแกรมระบบที่สำคัญไว้ และ RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่เข้าถึงข้อมูลโดยการสุ่ม
หล่งที่อ้างอิง http://www.geocities.com/pct_computers/memory-card/index.ht